กลไกการทำงานของเมาส์มี 3 ประเภท คือ Mechanical, Opto-Mechanical และ Optical
Mechanical
เป็น กลไกการทำงานที่อาศัยลูกบอลยาง ที่สามารถกลิ้งไปมาได้เมื่อเราเคลื่อนย้ายตัวเมาส์ ลูกบอลยางนี้จะกดแนบอยู่กับลูกกลิ้ง โดยแกนของลูกกลิ้ง จะต่อเข้ากับจานแปลรหัส (Encoder) ซึ่งมีหน้าสัมผัสเป็นจุด ๆ เมื่อจุดสัมผัสเลื่อนมาตรงแกนสัมผัส ก็จะสร้างสัญญาณ ส่งไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์คะ ซึ่งโปรแกรมควบคุมเมาส์ จะทำหน้าที่ แปลเป็นคำสั่งเคลื่อนย้ายเคอร์เซอร์ บนจอภาพต่อไป เมาส์ที่ใช้กลไกการทำงานแบบนี้จะมีราคาค่อนข้างถูกกว่าเมาส์แบบอื่น
Opto-Mechanical
มี กลไกการทำงานคล้ายแบบ Mechanical แต่ว่าตัวรับการเคลื่อนที่ของจานแปลรหัส (Encoder) จะมีไฟ LED อยู่อีกด้านหนึ่งของจานไว้คอยกำเนิดแสง และอีกด้านหนึ่ง จะมี Opto-Transistor (ทรานซิสเตอร์ไวแสง) ไว้คอยตรวจจับแสงแทนการใช้การสัมผัส
Mechanical
เป็น กลไกการทำงานที่อาศัยลูกบอลยาง ที่สามารถกลิ้งไปมาได้เมื่อเราเคลื่อนย้ายตัวเมาส์ ลูกบอลยางนี้จะกดแนบอยู่กับลูกกลิ้ง โดยแกนของลูกกลิ้ง จะต่อเข้ากับจานแปลรหัส (Encoder) ซึ่งมีหน้าสัมผัสเป็นจุด ๆ เมื่อจุดสัมผัสเลื่อนมาตรงแกนสัมผัส ก็จะสร้างสัญญาณ ส่งไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์คะ ซึ่งโปรแกรมควบคุมเมาส์ จะทำหน้าที่ แปลเป็นคำสั่งเคลื่อนย้ายเคอร์เซอร์ บนจอภาพต่อไป เมาส์ที่ใช้กลไกการทำงานแบบนี้จะมีราคาค่อนข้างถูกกว่าเมาส์แบบอื่น
Opto-Mechanical
มี กลไกการทำงานคล้ายแบบ Mechanical แต่ว่าตัวรับการเคลื่อนที่ของจานแปลรหัส (Encoder) จะมีไฟ LED อยู่อีกด้านหนึ่งของจานไว้คอยกำเนิดแสง และอีกด้านหนึ่ง จะมี Opto-Transistor (ทรานซิสเตอร์ไวแสง) ไว้คอยตรวจจับแสงแทนการใช้การสัมผัส
Optical
แบบสุดท้ายเป็นกลไก การทำงานที่อาศัยแผ่นรองชนิดพิเศษ ซึ่งมีผิวมันสะท้อนแสง และมีตารางเส้นตามแกน X , Y โดยแกนหนึ่งเป็นสีน้ำเงิน อีกแกนเป็นสีดำ ตัดกันไว้คอยตรวจจับการเคลื่อนที่คะ ซึ่งบนเมาส์ จะมีไฟ LED 2 ดวงให้กำเนิดแสงออกมา 2 สี คือ สีดำ และสีน้ำเงิน ไฟ LED ที่กำเนิดแสงสีดำ จะดูดกลืนแสงสีน้ำเงิน ส่วนไฟ LED ที่กำเนิดแสงสีน้ำเงิน จะดูดกลืนแสงสีดำ ซึ่งตัวตรวจจับแสง เป็นทรานซิสเตอร์ไวแสง สีที่ตรวจจับได้จะบอกทิศทาง ส่วนช่วงของแสงที่หายไป จะบอกถึงระยะทางการเคลื่อนที่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น