เครื่องปริ้นท์
Inkjet Printer
คือ เครื่องพิมพ์ที่ใช้วิธีพ่นน้ำหมึกลงไปบนวัตถุงาน โดยหมึกจะถูกฉีดออกจากรูขนาดเล็กบนหัวพิมพ์ ซึ่งหมึกที่ใช้จะเป็นแม่สี 3 สี คือ แดง เหลือง และน้ำเงิน บางเครื่องจะใช้ 2 กล่อง คือ น้ำหมึกสีดำกับตัวแม่สี สามารถพิมพ์ได้เร็ว คือ ประมาณ 9 ppm
คุณลักษณะเด่นของเครื่องพิมพ์แบบนี้คือ
- สามารถพิมพ์ภาพสีได้ โดยมีตลับหมึกสีแยกอิสระ
สามารถถอดเปลี่ยนใหม่ได้
- คุณภาพการพิมพ์คมชัดกว่าแบบใช้หัวเข็ม ให้ความละเอียดสูง
เหมาะสมสำหรับงานด้านกราฟิค และงานด้านการนำเสนอ
- สามารถพิมพ์บนผิววัสดุอื่นๆ นอกจากบนกระดาษได้ เช่น แผ่นใส สติ๊กเกอร์
หลักการทำงาน
เมื่อเราทำการสั่งพิมพ์ด้วยการกดคลิกที่ปุ่ม OK ที่หน้าจอคอมพิวเตอร์จะเกิดกระบวนการทำงานเป็นลำดับต่อเนื่องดังนี้
- ซอฟต์แวร์ที่ใช้จะส่งข้อมูลให้เป็นรูปแบบที่เครื่องพิมพ์สามารถเข้าใจได้
- ไดรฟ์เวอร์จะส่งข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ไปยังเครื่องพิมพ์ ผ่านอุปกรณ์เชื่อมต่อ
- เครื่องพิมพ์จะรับข้อมูลจากคอมพิวเตอร์และทำการเก็บข้อมูลนั้นไว้ใน บัฟเฟอร์
ซึ่งอยู่ในหน่วยความจำ RAM ขนาดตั้งแต่ 512
KB จนถึง 16 KB ขึ้นอยู่กับรุ่น
- หากเครื่องพิมพ์ไม่ตอบสนองการทำงานในช่วงระยะเวลาหนึ่ง อาจเป็นเพราะเครื่องกำลังเข้าสุ่วงรอบของการทำความสะอาดหัวพิมพ์แบบสั้นๆ
- เมื่อกระดาษผ่านเข้าไปในเครื่องคอมพิมพ์ จะเริ่มพิมพ์จากตำแหน่งเริ่มต้นของหน้าแรก
สเต็ปเปอร์มอเตอร์หัวพิมพ์จะบังคับสายพานให้เลื่อนชุดหิวพิมพ์ไปมาอย่างเป็น
จังหวะ
- การพิมพ์ของอิงก์เจ็ต จะพิมพ์ทีละจุด
ทีละแถบเรียงต่อเนื่องติดกันไปบนกระดาษ ซึ่งหัวพิมพ์จะฉีดหมึกในโหมดสี
CMYK ได้อย่างแม่นยำ
- เมื่อสิ้นสุดการพ่นหมึกในหนึ่งแถวกระดาษ เครื่องก็จะเลื่อนกระดาษขึ้นพิมพ์แถวต่อมา
- กระบวนการนี้จะดำเนินไปอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งพิมพ์เสร็จหมดทั้งหน้า
- เมื่อการพิมพ์เสร็จสมบูรณ์ หัวพิมพ์จะหยุด
สเต็ปเปอร์มอเตอร์ที่ดึงกระดาษจะหมุนลุกกลิ้งผลักกระดาษที่พิมพ์เสร็จ
แล้วออกไปด้านหน้าเครื่องพิมพ์
Laser Printer
เครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์จะเป็นเครื่องพิมพ์ที่มีกลไกการทำงานซับซ้อนที่สุด เครื่องพิมพ์นี้อาศัยเทคโนโลยีไฟฟ้าสถิตย์ที่พบในเครื่องถ่านเอกสารทั่วไป โดยลำแสงไดโอดเลเซอร์จะฉายไปยังกระจกหมุน เพื่อสะท้อนไปยังลุกกลิ้งไวแสง ซึ่งจะปรับตามสัญญาณภาพหรือตัวอักษรที่ได้รับจากคอมพิวเตอร์ และกราดตามแนวยาวของลูกกลิ้งอย่างรวดเร็ว สารเคลือบบนลุกกลิ้งจะทำปฏิริยากับแสงแล้วเปลี่ยนเป็นประจุไฟฟ้าสถิตย์ ซึ่งทำให้ผงหมึกเกาะติดกับพื้นที่ที่มีประจุ เมื่อกระดาษพิมพ์หมุนผ่านลูกกลิ้ง ความร้อนจะทำให้ผงหมึกหลอมละลายติดกับกระดาษ
หลักการทำงาน
หลักการทำงานก็คือ
ตัวดรัม เริ่มต้นจะถูกทำให้ประจุไฟฟ้าเป็นบวก
ทั่งทั้งแกนเมื่อตัวเลเซอร์ยิงแสงเลเซอร์ผ่านกระจกเลนส์
ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับลุกบอลกระจกแบบที่อยู่ในสถานบันเทิง
เมื่อเลเซอร์ยิงแสงไปตกกระทบกระจกเลนส์ก็จะเกิดการหักเหของแสงในทิศต่างๆ
แสงที่หักเหจากเสนส์นี้ก็จะตกกระทบมาที่ตัวดรัม โดยตัวดรัมจะค่อยๆ
หมุนไปตามการยิงเลเซอร์ ความละเอียดในการหมุนตัวดรัมนี้เป็นที่มาของความละเอียดในการพิมพ์ใน
ปัจจุบัน
ข้อดี-ข้อเสียของเครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์
ข้อดี
ได้งานพิมพ์ที่สวยงามรวดเร็ว
ข้อเสีย
ต้นทุนสูง ไม่สามารถพิมพ์สำเนาครั้งละหลายๆ
แผ่นได้ในครั้งเดียว และราคาเครื่องค่อนข้างแพงกว่าแบบอื่นๆ
Dot matrix printer
หลักการพิมพ์จะใช้เข็มกระแทกผ้าหมึกเพื่อเกิดจุดที่กระดาษ และรวมกันเป็นตัวอักษร หรือภาพ ขณะการใช้งานการเกิดเสียงค่อนข้างดัง เนื่องจากการใช้เข็มกระแทก ปัจจุบันนี้มีผ้าหมึกที่เป็นสีแล้ว แต่คถณภาพไม่ค่อยดีนัก
คุณลักษณะเด่นของเครื่องพิมพ์
- สามารถพิมพ์ลงบนกระดาษที่มีหลายสำเนาหลายชุดได
ทำให้ไม่ต้องเสียเวลาพิมพ์หลายครั้ง ซึ่งเครื่องพิมพ์แบบอื่นไม่สามารถทำได้
- มีความทนทานในการใช้งานสูง
- สามารถพิมพ์กับกระดาษต่อเนื่องได้
โครสร้างการทำงาน
ส่วนประกอบหลัก
- หน่วยประมวลผลกลาง
- หน่วยความจำ
- ภาค input/output
- ส่วนกลไก
Universal Serial Bus (USB) แฟลชไดรฟ์ คือ อุปกรณ์ ขนาดเล็กที่สามารถพกพา และใช้เสียบเข้ากับ USB
พอร์ต ของเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ USB แฟลชไดรฟ์ใช้เก็บข้อมูลเช่นเดียวกับฮาร์ดดิสก์
แต่แฟลชไดรฟ์สามารถถ่ายโอนข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังเครื่อง อื่นๆ
ได้โดยสะดวก USB แฟลชไดรฟ์จะมีขนาดและรูปร่างที่แตกต่างกันไป
และเก็บข้อมูลได้หลายกิกะไบต์ USB แฟลชไดรฟ์
หรือเรียกอีกอย่างว่า เพนไดรฟ์ไดรฟ์พวงกุญแจคีย์ไดรฟ์ และ
คีย์หน่วยความจำ
สแกนเนอร์ คืออุปกรณ์ซึ่งจับภาพและเปลี่ยนแปลงภาพจากรูปแบบของแอนาลอกเป็นดิจิตอลซึ่งคอมพิวเตอร์
สามารถแสดง, เรียบเรียง, เก็บรักษาและผลิตออกมาได้ ภาพนั้นอาจจะเป็นรูปถ่าย, ข้อความ,
ภาพวาด หรือแม้แต่วัตถุสามมิติ
สามารถใช้สแกนเนอร์ทำงานต่างๆได้ดังนี้
- ในงานเกี่ยวกับงานศิลปะหรือภาพถ่ายในเอกสาร
- บันทึกข้อมูลลงในเวิร์ดโปรเซสเซอร์
- แฟ็กเอกสาร ภายใต้ดาต้าเบส และ
เวิร์ดโปรเซสเซอร์
- เพิ่มเติมภาพและจินตนาการต่าง ๆ
ลงไปในผลิตภัณฑ์สื่อโฆษณาต่าง ๆ
- ฯลฯ
การทำงานของสแกนเนอร์
การจับภาพของสแกนเนอร์
ทำโดยฉายแสงบนเอกสารที่จะสแกน แสงจะผ่านกลับไปมาและภาพ
จะถูกจับโดยเซลล์ที่ไวต่อแสง เรียกว่า charge-couple device หรือ CCD ซึ่งโดยปกติพื้นที่มืดบน
กระดาษจะสะท้อนแสงได้น้อยและพื้นที่ที่สว่างบนกระดาษจะสะท้อนแสงได้มากกว่า CCD จะสืบหาปริมาณแสงที่สะท้อนกลับ
จากแต่ละพื้นที่ของภาพนั้น
และเปลี่ยนคลื่นของแสงที่สะท้อน กลับมาเป็นข้อมูลดิจิตอล
หลังจากนั้นซอฟต์แวร์ที่ใช้สำหรับการสแกนภาพก็จะแปลงเอาสัญญาณเหล่านั้นกลับมาเป็นภาพ
บนคอมพิวเตอร์อีกทีหนึ่ง
ประเภทของภาพที่เกิดจากการสแกน แบ่งเป็นประเภทดังนี้
1. ภาพ Single Bit
ภาพ Single Bit เป็นภาพที่มีความหยาบมากที่สุดใช้พื้นที่ในการเก็บข้อมูล
น้อยที่สุดและ นำมาใช้ประโยชน์อะไรไม่ค่อยได้ แต่ข้อดีของภาพประเภทนี้คือ
ใช้ทรัพยากรของเครื่องน้อยที่สุดใช้พื้นที่ ในการเก็บข้อมูลน้อยที่สุด
ใช้ระยะเวลาในการสแกนภาพน้อยที่สุด Single-bit แบ่งออกได้สองประเภทคือ
- Line Art ได้แก่ภาพที่มีส่วนประกอบเป็นภาพขาวดำ
ตัวอย่างของภาพพวกนี้ ได้แก่ ภาพที่ได้จากการสเก็ต
- Halftone ภาพพวกนี้จะให้สีที่เป็นโทนสีเทามากกว่า
แต่โดยทั่วไปยังถูกจัดว่าเป็นภาพประเภท Single-bit เนื่องจากเป็นภาพหยาบๆ
2. ภาพ Gray Scale
ภาพพวกนี้จะมีส่วนประกอบมากกว่าภาพขาวดำ
โดยจะประกอบด้วยเฉดสีเทาเป็นลำดับขั้น ทำให้เห็นรายละเอียดด้านแสง-เงา
ความชัดลึกมากขึ้นกว่าเดิมภาพพวกนี้แต่ละพิกเซลหรือแต่ละจุดของภาพอาจประกอบด้วยจำนวนบิตมากกว่า
ต้องการพื้นที่เก็บข้อมูลมากขึ้น
3. ภาพสี
หนึ่งพิกเซลของภาพสีนั้นประกอบด้วยจำนวนบิตมหาศาล
และใช้พื้นที่เก็บข้อมูลมาก ควาามสามารถในการสแกนภาพออกมาได้ละเอียดขนาดไหนนั้นขึ้นอยู่กับว่าใช้สแกนเนอร์ขนาดความละเอียดเท่าไร
4. ตัวหนังสือ
ตัวหนังสือในที่นี้ ได้แก่
เอกสารต่างๆ เช่น ต้องการเก็บเอกสารโดยไม่ต้อง
พิมพ์ลงในแฟ้มเอกสารของเวิร์ดโปรเซสเซอร์ ก็สามารถใช้สแกนเนอร์สแกนเอกสาร ดังกล่าว
และเก็บไว้เป็นแฟ้มเอกสารได้ นอก จากนี้ด้วยเทคโนโลยีปัจจุบันสามารถใช้
โปรแกรมที่สนับสนุน OCR (Optical Characters Reconize) มาแปลงแฟ้มภาพเป็น
เอกสารดังกล่าวออกมาเป็นแฟ้มข้อมูลที่สามารถแก้ไขได้
โมเด็ม
หลักการทำงานของโมเด็ม
เป็นอุปกรณ์สำหรับคอมพิวเตอร์อย่างหนึ่งที่ช่วยให้คุณสัมผัสกับโลกภายนอกได้อย่างง่ายดาย โมเด็มเป็นเสมือนโทรศัพท์สำหรับคอมพิวเตอร์ที่จะช่วยให้ระบบคอมพิวเตอร์ของคุณสามารถสื่อสารกับคอมพิวเตอร์อื่นๆ ได้ทั่วโลก โมเด็มจะสามารถทำงานของคุณให้สำเร็จได้ก็ด้วยการเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์ของคุณเข้าคู่สายของโทรศัพท์ธรรมดาคู่หนึ่งซึ่งโมเด็มจะทำการแปลงสัญญาณดิจิตอล (digital signals) จากเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาณอนาล็อก (analog signals) เพื่อให้สามารถส่งไปบนคู่สายโทรศัพท์
คำว่า โมเด็ม(Modems) มาจากคำว่า (modulate/demodulate) ผสมกัน หมายถึง กระบวนการแปลงข้อมูลข่าวสารดิจิตอลให้อยู่ในรูปของอนาล็อกแล้วจึงแปลงสัญญาณกลับเป็นดิจิตอลอีกครั้งหนึ่งเมื่อโมเด็มของคุณต่อเข้ากับโมเด็มตัวอื่นความแตกต่างของโมเด็มแต่ละประเภทโมเด็มแต่ละประเภทจะมีคุณลักษณะที่แตกต่างกันดังนี้
1. ความเร็วในการรับ - ส่งสัญญาณ ความเร็วในการรับ - ส่งสัญญาณ หมายถึง อัตรา (rate) ที่โมเด็มสามารถทำการแลก
เปลี่ยนข้อมูลกับโมเด็มอื่นๆมีหน่วยเป็น บิต/วินาที (bps) หรือ กิโลบิต/วินาที (kbps) ในการบอกถึงความเร็วของโมเด็มเพื่อให้ง่ายในการพูดและจดจำ มักจะตัดเลขศูนย์ออกแล้วใช้ตัวอักษรแทน เช่น โมเด็ม 56,000 bps จะเรียกว่า โมเด็มขนาด 56 K
2. ความสามารถในการบีบอัดข้อมูล ข้อมูลข่าวสารที่ส่งออกไปบนโมเด็มนั้นสามารถทำให้มีขนาดกะทัดรัดด้วยวิธีการบีบ
อัดข้อมูล (compression) ทำให้สามารถส่งข้อมูลได้ครั้งละเป็นจำนวนมากๆ เป็นการเพิ่มความเร็วของโมเด็มในการ รับ - ส่ง
สัญญาณ
3. ความสามารถในการใช้เป็นโทรสาร โมเด็มรุ่นใหม่ๆ สามารถส่งและรับโทรสาร (Fax capabilities) ได้ดีเช่นเดียวกับการรับ - ส่งข้อมูลหากคุณ มีซอฟท์แวร์ที่เหมาะสมแล้วคุณสามารถใช้แฟคซ์โมเด็มเป็นเครื่องพิมพ์(printer)ได้เมื่อคุณพิมพ์เข้าไปที่แฟคซ์โมเด็มมันจะส่งเอกสารของคุณไปยังเครื่องโทรสารที่ปลายทางได้
4. ความสามารถในการควบคุมความผิดพลาด โมเด็มจะใช้วิธีการควบคุมความผิดพลาด (error control) ต่างๆ มากมายหลายวิธีในการตรวจสอบเพื่อการยืนยันว่าจะไม่มีข้อมูลใดๆสูญหายไประหว่างการส่งถ่ายข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง
5. ออกแบบให้ใช้ได้ทั้งภายในและภายนอก โมเด็มที่จำหน่ายในท้องตลาดทั่วๆ ไปจะมี 2 รูปแบบ คือ โมเด็มแบบติดตั้งภายนอก (external modems) และ แบบติดตั้งภายใน (internal modems)
6. ใช้เป็นโทรศัพท์ได้ โมเด็มบางรุ่นมีการใส่วงจรโทรศัพท์ธรรมดาเข้าไปพร้อมกับความสามารถในการรับ - ส่งข้อมูลและโทรสารด้วย ใช้โมเด็มทำอะไรได้บ้าง
เราสามารถใช้โมเด็มทำอะไรต่างๆ ได้หลายอย่าง เช่น
1. พบปะพูดคุย
2. ใช้บริการต่างๆ จากที่บ้าน
3. ท่องไปบนอินเทอร์เน็ต
4. เข้าถึงบริการออนไลน์ได้
5. ดาวน์โหลดข้อมูล,รูปภาพและโปรแกรมแชร์แวร์ได้
6. ส่ง - รับโทรสาร
7. ตอบรับโทรศัพท์
การเลือกซื้อโมเด็ม สิ่งที่ควรพิจารณาในการเลือกซื้อโมเด็มมาใช้งาน เช่น
1. เข้ากันได้กับระบบคอมพิวเตอร์ของคุณ
2. เข้ากันได้กับระบบทำงาน OS ของคอมพิวเตอร์ของคุณ
3. ความเร็วในการรับ - ส่งสัญญาณ
4. เป็นโมเด็มภายนอกหรือภายใน
5. การบีบอัดข้อมูล
6. ความสามารถในการควบคุมความผิดพลาด
7. รับ - ส่งโทรสารได้ 8. ซอฟท์แวร์สื่อสาร
สิ่งที่ต้องใช้ร่วมกับโมเด็ม การที่สามารถใช้โมเด็มให้เกิดประโยชน์จากแหล่งข้อมูลนั้นจะต้องตรวจสอบว่ามีสิ่งเหล่านี้พร้อมหรือไม่
1. ซอฟท์แวร์สื่อสาร
2. พอร์ทอนุกรม (serial port)
3. fast UART เป็นซิฟตัวหนึ่งที่ติดตั้งบนพอร์ทอนุกรมของคอมพิวเตอร์ เพื่อควบคุมการไหลของข้อมูลเข้าและออกจากพอร์ท-อนุกรม
4. serial cable เป็นสาย cable ที่นำมาต่อโมเด็มกับพอร์ทอนุกรมของคอมพิวเตอร์ (ต้องตรวจสอบดูว่าเป็น connector แบบ9 ขา หรือ 25 ขา)
5. expansion slot ถ้าโมเด็มเป็นแบบติดตั้งภายในจะต้องมี expansion slot ใช้งาน โดยจะต้องถอดฝาครอบตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ออกและติดตั้งโมเด็มลงไปบน expansion slot
โมเด็ม
หลักการทำงานของโมเด็ม
เป็นอุปกรณ์สำหรับคอมพิวเตอร์อย่างหนึ่งที่ช่วยให้คุณสัมผัสกับโลกภายนอกได้อย่างง่ายดาย โมเด็มเป็นเสมือนโทรศัพท์สำหรับคอมพิวเตอร์ที่จะช่วยให้ระบบคอมพิวเตอร์ของคุณสามารถสื่อสารกับคอมพิวเตอร์อื่นๆ ได้ทั่วโลก โมเด็มจะสามารถทำงานของคุณให้สำเร็จได้ก็ด้วยการเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์ของคุณเข้าคู่สายของโทรศัพท์ธรรมดาคู่หนึ่งซึ่งโมเด็มจะทำการแปลงสัญญาณดิจิตอล (digital signals) จากเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาณอนาล็อก (analog signals) เพื่อให้สามารถส่งไปบนคู่สายโทรศัพท์
คำว่า โมเด็ม(Modems) มาจากคำว่า (modulate/demodulate) ผสมกัน หมายถึง กระบวนการแปลงข้อมูลข่าวสารดิจิตอลให้อยู่ในรูปของอนาล็อกแล้วจึงแปลงสัญญาณกลับเป็นดิจิตอลอีกครั้งหนึ่งเมื่อโมเด็มของคุณต่อเข้ากับโมเด็มตัวอื่นความแตกต่างของโมเด็มแต่ละประเภทโมเด็มแต่ละประเภทจะมีคุณลักษณะที่แตกต่างกันดังนี้
1. ความเร็วในการรับ - ส่งสัญญาณ ความเร็วในการรับ - ส่งสัญญาณ หมายถึง อัตรา (rate) ที่โมเด็มสามารถทำการแลก
เปลี่ยนข้อมูลกับโมเด็มอื่นๆมีหน่วยเป็น บิต/วินาที (bps) หรือ กิโลบิต/วินาที (kbps) ในการบอกถึงความเร็วของโมเด็มเพื่อให้ง่ายในการพูดและจดจำ มักจะตัดเลขศูนย์ออกแล้วใช้ตัวอักษรแทน เช่น โมเด็ม 56,000 bps จะเรียกว่า โมเด็มขนาด 56 K
2. ความสามารถในการบีบอัดข้อมูล ข้อมูลข่าวสารที่ส่งออกไปบนโมเด็มนั้นสามารถทำให้มีขนาดกะทัดรัดด้วยวิธีการบีบ
อัดข้อมูล (compression) ทำให้สามารถส่งข้อมูลได้ครั้งละเป็นจำนวนมากๆ เป็นการเพิ่มความเร็วของโมเด็มในการ รับ - ส่ง
สัญญาณ
3. ความสามารถในการใช้เป็นโทรสาร โมเด็มรุ่นใหม่ๆ สามารถส่งและรับโทรสาร (Fax capabilities) ได้ดีเช่นเดียวกับการรับ - ส่งข้อมูลหากคุณ มีซอฟท์แวร์ที่เหมาะสมแล้วคุณสามารถใช้แฟคซ์โมเด็มเป็นเครื่องพิมพ์(printer)ได้เมื่อคุณพิมพ์เข้าไปที่แฟคซ์โมเด็มมันจะส่งเอกสารของคุณไปยังเครื่องโทรสารที่ปลายทางได้
4. ความสามารถในการควบคุมความผิดพลาด โมเด็มจะใช้วิธีการควบคุมความผิดพลาด (error control) ต่างๆ มากมายหลายวิธีในการตรวจสอบเพื่อการยืนยันว่าจะไม่มีข้อมูลใดๆสูญหายไประหว่างการส่งถ่ายข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง
5. ออกแบบให้ใช้ได้ทั้งภายในและภายนอก โมเด็มที่จำหน่ายในท้องตลาดทั่วๆ ไปจะมี 2 รูปแบบ คือ โมเด็มแบบติดตั้งภายนอก (external modems) และ แบบติดตั้งภายใน (internal modems)
6. ใช้เป็นโทรศัพท์ได้ โมเด็มบางรุ่นมีการใส่วงจรโทรศัพท์ธรรมดาเข้าไปพร้อมกับความสามารถในการรับ - ส่งข้อมูลและโทรสารด้วย ใช้โมเด็มทำอะไรได้บ้าง
เราสามารถใช้โมเด็มทำอะไรต่างๆ ได้หลายอย่าง เช่น
1. พบปะพูดคุย
2. ใช้บริการต่างๆ จากที่บ้าน
3. ท่องไปบนอินเทอร์เน็ต
4. เข้าถึงบริการออนไลน์ได้
5. ดาวน์โหลดข้อมูล,รูปภาพและโปรแกรมแชร์แวร์ได้
6. ส่ง - รับโทรสาร
7. ตอบรับโทรศัพท์
การเลือกซื้อโมเด็ม สิ่งที่ควรพิจารณาในการเลือกซื้อโมเด็มมาใช้งาน เช่น
1. เข้ากันได้กับระบบคอมพิวเตอร์ของคุณ
2. เข้ากันได้กับระบบทำงาน OS ของคอมพิวเตอร์ของคุณ
3. ความเร็วในการรับ - ส่งสัญญาณ
4. เป็นโมเด็มภายนอกหรือภายใน
5. การบีบอัดข้อมูล
6. ความสามารถในการควบคุมความผิดพลาด
7. รับ - ส่งโทรสารได้ 8. ซอฟท์แวร์สื่อสาร
สิ่งที่ต้องใช้ร่วมกับโมเด็ม การที่สามารถใช้โมเด็มให้เกิดประโยชน์จากแหล่งข้อมูลนั้นจะต้องตรวจสอบว่ามีสิ่งเหล่านี้พร้อมหรือไม่
1. ซอฟท์แวร์สื่อสาร
2. พอร์ทอนุกรม (serial port)
3. fast UART เป็นซิฟตัวหนึ่งที่ติดตั้งบนพอร์ทอนุกรมของคอมพิวเตอร์ เพื่อควบคุมการไหลของข้อมูลเข้าและออกจากพอร์ท-อนุกรม
4. serial cable เป็นสาย cable ที่นำมาต่อโมเด็มกับพอร์ทอนุกรมของคอมพิวเตอร์ (ต้องตรวจสอบดูว่าเป็น connector แบบ9 ขา หรือ 25 ขา)
5. expansion slot ถ้าโมเด็มเป็นแบบติดตั้งภายในจะต้องมี expansion slot ใช้งาน โดยจะต้องถอดฝาครอบตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ออกและติดตั้งโมเด็มลงไปบน expansion slot
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น