วันศุกร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2557

รายชื่อผู้จัดทำ



จัดทำโดย.




นาย ณฐกร กิจเกริกกาญจน์ ชอ.3/7 เลขที่ 10



นำเสนอ 



อาจารย์เอกรินทร์ สินทะเกิด

วิชา งานบริการคอมพิวเตอร์

วิทยาลัยเทคนิคสมุทรสาคร

วันจันทร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2557

การดูแลรักษา Power Supply


   การดูแลรักษา Power Supply
Power Supply นั้นถือว่าเป็นส่วนที่เริ่มต้นทั้งหมดของชุุดจ่ายไฟ ให้กับ เครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งปัจจุบัน Power Supply นั้นเป็นวงจรแบบ Switching ข้อดีของ วงจรแบบนี้คือ ไฟที่ได้มีลักษณะที่เรียบ และ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับแหล่งจ่ายไฟที่ให้กับ Power Supply อีกที่แต่ข้อดีอีกอย่างหนึ่งของ Power ในลักษณะนี้นั้นหากมีไฟฟ้า กระชากเข้ามามากๆ ตัว Power นั้นจะเสียก่อน ซึ่งถือว่าเป็นการป้องกันไฟที่ดีให้กับตัวเมนบอร์ดไม่ให้เสียหาย เนื่องจากมีราคาค่อนข้างแพงกว่า Power Supply มากรวม ไปถึงอุปกรณ์ตัวอื่นๆดังนั้นการดูแลรักษาอุปกรณ์นี้จึงเป็นสิ่งที่มีความจำ เป็นอย่างยิ่งเพื่อให้เราสามารถที่จะใช้งานได้ยาวนานขึ้น

   ข้อแนะนำในการเลือกซื้อและใช้ Power Supply โหลดของ Power Supply
    - Mainboard
    - HDD
    - VGA
    - CD Rom
    - พัดลมระบายความร้อน
    - ไฟแสดงสถานะต่างๆภายในเครื่อง
1. ต่อโหลดให้เหมาะสมกับ Power Supply ที่ใช้ โหลดคืออุปกรณ์ที่ต่อไฟจาก Power Supply ยกตัวอย่างเช่น Powerขนาด450 W ที่มีขายตามแหล่งสินค้าไอที ต่อเข้ากับ พัดลมขนาดใหญ่ 12" 2 ตัว 8" 3ต้ว อย่างนี้ก็ถือว่ามากเกินไปจะทำให้ Powerเสีย ได้บ่อยๆ
2. เลือกกำลังวัตต์ให้เหมาะกับงานที่ใช้ เช่น ถ้าใช้ตามบ้านทั่วไปก็ 450W แต่ควรต่อโหลดให้เหมาะสม แต่ถ้าหากใช้งานที่
มากขึ้น คือต้องเปิดในระยะเวลานาน หรือ มีการต่อโหลดเพิ่มไปจากพัดลมระบายความร้อนเช่น VGA ที่ใช้กำลังไฟมากๆ ก็อาจจะต้อง
เลือก Power Supply ที่มีคุณภาพให้เหมาะกับการใช้งาน
3. ควรทำความสะอาดตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ และ Power Supply เพื่อเป็นการยืดอายุอุปกรณ์ด้วย

การดูแลรักษา CD-ROM



CD-ROM Drive คืออะไร

อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับอ่านข้อมูลบนแผ่น CD ซึ่งมีหลายประเภท เช่น CD-ROM, CD-RW, DVD และ COMBO Drive ซึ่ง Drive แต่ละประเภทก็มีคุณสมบัติและความสามารถต่างกัน และถือได้ว่า Drive ต่างๆ เหล่านี้ เป็นอุปกรณ์พื้นฐานที่จำเป็นสำหรับคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน

ปัญหาของ CD-ROM Drive

ปัญหาส่วนใหญ่ของ CD-ROM Drive ที่พบมากก็คือ ไม่สามารถอ่านแผ่น CD ได้

 1. ใส่แผ่น CD กลับข้างหรือเปล่า ลองดูสักนิด
 2. แผ่น CD ที่เก็บข้อมูล สกปรกหรือเปล่า ลองเช็คทำความสะอาดดูสักนิด
 3. ให้ดูแแผ่น CD ว่าเป็นแบบใด CD-R หรือ CD-RW หรือ DVD ถ้าเป็น CD-ROM Drive ทั่วไป จะไม่สามารถอ่านแผ่น DVD ได้ แต่ถ้าเป็นแผ่น CD-R, CD-RW หลายๆ รุ่น อาจมีปัญหาในการบันทึก ทำให้ CD-ROM Drive บางรุ่น ไม่สามารถอ่านได้ ถ้าไม่ใช่ ให้ทดสอบข้อต่อไป
 4. ให้ทดสอบโดยหาแผ่น CD แผ่นอื่นๆ มาทดลองเปิดดู ถ้าไม่ได้ ให้ทดสอบข้อต่อไป
 5. ควรทำความสะอาด CD-ROM Drive โดยหาซื้อแผ่นทำความสะอาด CD-ROM Drive โดยเฉพาะ (ลักษณะของแผ่นที่ใช้ทำความสะอาด Drive ให้กลับแผ่น CD ลง จะเป็นขนแปลงเล็ก ๆ อยู่ด้านล่าง ไว้ใช้สำหรับทำความสะอาด หัวอ่านของ CD ให้ทำความสะอาดสัก 2 - 3 รอบ จากนั้น ให้ลองเปิดแผ่น CD ที่มีปัญหา
 6. ถ้ายังอยู่ในประกัน (ปกติ 1 ปี) ให้รีบไปเคลมทีร้านได้เลยครับ ไม่ต้องคิดให้ปวดหัว
 7. ถ้าเลยประกัน คงต้องส่ง ร้านซ่อม เพราะอาจต้องเปิดตัว CD-ROM Drive และปัดฝุ่นจากภายใน หรืออาจมีปัญหากับบางชิ้นส่วนก็เป็นได้

การดูแลรักษาดิสก์ไดร์ฟ


ดิสก์ไดร์ฟ (Disk Drive) เป็น อุปกรณ์ที่ใช้อ่านและเขียนข้อมูลลงในแผ่นฟลอปปีดิสก์ ซึ่งดิสก์ไดร์ฟก็มีหลายชนิด แต่ในปัจจุบันเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วๆไปมักจะใช้ดิสก์ไดร์ฟขนาด 3.5 นิ้ว การใช้งานดิสก์ไดร์ฟโดยทั่วไปไม่ค่อยมีปัญหาเท่าไรนัก ถ้าผ่านปีแรกไปได้แล้วก็มักจะผ่านไปถึงปีที่ 3 ถ้าหากว่าดิสก์ไดร์ฟเสียในช่วงปีแรกก็สามารถส่งซ่อมหรือเปลี่ยนใหม่ แต่ถ้าเสียหลังจากปีแรกแล้ว ก็ควรที่จะซื้อเปลี่ยนใหม่ เพราะถ้าซ่อมจะไม่คุ้มค่า เพราะราคาดิสก์ไดร์ฟในปัจจุบันมีราคาถูกมาก
การดูและรักษา Disk Drive ควรปฏิบัติดังนี้
  • เลือกใช้แผ่นดิสก์ที่สะอาดคือไม่มีคราบฝุ่น ไขมัน หรือรอยขูดขีดใดๆ
  • ใช้น้ำยาล้างหัวอ่านดิสก์ทุกๆเดือน
  • หลีกเลี่ยงการใช้แผ่นดิสก์เก่าที่เก็บไว้นาน ๆ เพราะจะทำให้หัวอ่าน Disk Drive สกปรกได้ง่าย

การทำความสะอาด Ram

แรม (RAM)

วิธีการทำความสะอาดแรม

ให้นำแรมแผ่นเขียวๆออกมาทำความสะอาดโดยการ ใช้ยางลบ ลบบริเวณ แถบเหลืองๆ ให้สะอาด เท่านี้ แรมท่านก็จะใช้งานได้ราบรื่นเพื่มเติมจากรูปจะเห็นผมวงไว้ตรงบริเวณขั้วของ Ram ซึ่งการทำความสะอาดอุปกรณ์ที่มีขั้วเหมือนแบบนี้เช่น VGA Card หรือ Sound Card เราก็แค่1 เอายางลบไปลยที่ที่ผมวงไว้ไม่ต้องกังวลนะครับว่า RAM คุณจะไม่เหมือนในรูป เพราะ RAM ที่ผมเอามาโชว์นี่เป็น 1 ในหลายๆ แบบของ RAM ที่ใช้กันตามท้องตลาดครับ บันทึกการเข้า เรามาทำความรู้จักแรม-การ์ดจอกันก่อน     แรม คือ แรม หรือ หน่วยความจำเข้าถึงโดยสุ่ม [1] (อังกฤษ: random access memory: RAM) เป็นหน่วยความจำหลัก ที่ใช้ในระบบคอมพิวเตอร์ยุคปัจจุบัน หน่วยความจำชนิดนี้ อนุญาตให้เขียนและอ่านข้อมูลได้ในตำแหน่งต่างๆ อย่างอิสระ และรวดเร็วพอสมควร ซึ่งต่างจากสื่อเก็บข้อมูลชนิดอื่นๆ อย่างเทป หรือดิสก์ ที่มีข้อจำกัดในการอ่านและเขียนข้อมูล ที่ต้องทำตามลำดับก่อนหลังตามที่จัดเก็บไว้ในสื่อ หรือมีข้อกำจัดแบบรอม ที่อนุญาตให้อ่านเพียงอย่างเดียวง    การ์ดจอ คือ การ์ดจอ (Video Card) เป็นคำเก่าที่ใช้เรียก การ์ดแสดงผล  หรือ กราฟฟิกการ์ด (Graphic card) จริง ๆ คือการ์ดเดียวกันเป็นแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ที่ทำหน้าที่ในการนำข้อมูลที่ได้จากการประมวลผลของซีพียูมาแสดงบนจอภาพ แปรเปลี่ยนให้อยู่ในรูปแบบของตัวอักษร หรือ รูปภาพ ทำให้ผู้ใช้ สามารถควบคุมการทำงาน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ  โดยจอภาพจะเป็นส่วนที่รับข้อมูลจากการ์ดแสดงผลอีกทีหนึ่ง  เพราะฉะนั้นทั้งการ์ดแสดงผลและจอภาพจะต้องทำงานร่วมกันเพื่อให้ได้ภาพออกมา แสดงบนจอภาพ  จอภาพจะต้องสนับสนุนความสามารถที่การ์ดแสดงผลสามารถทำได้     ตอนนี้มาถึงวิธีทำความสะอาดแล้ว1.ถอดแรม-การ์ดจอออกมาก่อนคับอย่างแรก2.นำ ยางลบถูที่แถบสีทองให้สะอาด(ถ้าเราไม่มียางลบ เคล็ดลับอยู่ที่นี่คับให้ใช้ น้ำลายเราถูแทนได้เลยแล้วใช้ผ้าเช็ด ผมรับรองได้เลย)3.นำกลับไปใส่แล้วเปิดได้เลย

การดูแลรักษาเมนบอร์ด

เมนบอร์ด ( Mainboard )

เมนบอร์ด คือ แผงวงจรขนาดใหญ่ที่รวบรวมเอาส่วนประกอบหลักๆที่สำคัญของคอมพิวเตอร์เข้าไว้ด้วยกัน มีลักษณะเป็นแผ่น circuit board รูปร่างสี่เหลี่ยมผืนผ้า ซึ่งเต็มไปด้วยวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่ซับซ้อน ดังนั้นเมนบอร์ดจึงเปรียบเสมือนศูนย์กลางในการทำงานเป็นศูนย์กลางเชื่อมต่ออุปกรณ์อื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นซีพียู แรม ฮาร์ดดิส ซีดีรอม และการ์ดต่างๆ 



สาเหตุที่ทำให้อุปกรณ์เมนบอร์เสีย
1. เกิดจากการผิดพลาดในการผลิต
2.อายุการใช้งาน ตามสภาพ
3.จากการกระทำที่เกินความสามารของเมนบอร์ด เช่น การทำโอเวอร์คล๊อก
4. เกิดจารกระแสไฟลัดวงจร
5.จากการประกอบที่ไม่ถูกต้อง
6. หนู อันนี้มักเกิดจากเปิดฝาเครื่องทิ้งไว้และอาจจะมีหนูในห้อง
7.ความร้อนและความชื้น ทั้งสองอย่างถ้ามีมากเกินไป
8. สุดท้ายก้ยังอาจจะมีสาเหตุอื่น เปนสาเหตุที่อาจพบขึ้นเอง



การบำรุงรักษาอุปกรณ์

 
เมื่อมีการถอดอุปกรณ์เมมบอร์ดออกจากเครื่องควรพยายามถอดออกอย่างระมัดระวัง และควรทำการปัดฝุ่นให้สะอาด ระวังอย่าให้เมมบอร์ดโดนน้ำหรือตกหล่น เพราะจะทำให้อุปกรณ์ชิ้นน้อบนเมมบอร์เกิดชำรุด หรือหลุ่นหายทำให้เมมบอร์ดใช้งานไม่ได้อีกเลย เมื่อนำอุปกรณ์เมนบอร์ดมาตรวจสอบความเรียบร้อยพร้อมกับทำความสะอาดอย่างระมัดระวังก็ถึงเวลานำมาประกอบกับเครื่อง ก็ควรระวังเป็นพิเศษ ตรวจสอบอุปกรณ์ต่างๆ ให้ครบแลเวประกอบเข้าเครื่อง เมื่อเรารู้สึกว่าเกิดขัดข้องบนอุปกรณ์เมนบอร์ดขึ้นก็พยายามตรวจสอบและดูแลรักษาหรือให้ผู้เชี่ยวชาญด้านนี้โดยเฉพาะเป็นผู้กระอุปกรณ์

การทำความสะอาดเคสคอมพิวเตอร์

การทำความสะอาด Case




การทำความสะอาด Case

1.ถอดสายไฟ ให้หมด สังเกตุว่าฝุ่นมา เกาะที่ Case เยอะหรือยัง ถ้าเยอะก็ เริ่มทำความสะอาดได้เลย ใช้เศษผ้า ทำความสะอาดด้านนอกก่อน
2. เปิด Case ออกมา ถ้ามีเครื่องเป่าฝุ่น ก็ เป่าได้เลย
3. ถ้าใครพอมี ความรู้ ด้านคอม ก็ถอดแรม เป่าด้วยก็ดี
4. ดูว่าฝุ่นไม่มี หรือ น้อยแล้ว ก็ ปิดฝา

:: กรณีไม่มี เครื่องเป่า

ก็ใช้แปลง อะไรก็ได้ ที่พอจะปัดฝุ่นได้ ก็ปัดออก ซึงส่วนสำคัญก็คงเป็น slot ที่ใส่ Ram ทำความสะอาดด้วยก็จะเป็นการดีมาก

การดูแลรักษาเมาส์

การดูแลรักษาเมาส์

เมาส์เป็นอุปกรณ์หนึ่งที่มีความสกปรก  มากเพราะเวลาที่เราใช้นั้นไม่รู้ว่าเราจับอะไรต่อมิอะไรมา  ทำให้เชื่อโรคสะสมอยู่  โดยเฉพาะเมาส์ที่เป็นลูกกลิ้งนั้น  ลูกกลิ้งจะสัมผัสกับบริเวณโต๊ะหรือว่าแผ่นรองเมาส์จนทำให้เกิดฝุ่นสะสม  แล้วทำให้ไม่สามารถที่จะเลื่อนได้อย่างปกติได้  วิธีการทำความสะอาดนั้นก็นำเอาฝาที่ครอบลูกกลิ้งออก   โดยการหมุนตามลูกศรที่ระบุไว้  นำผ้ามาเช็คที่ลูกกลิ่งแล้วด้านในให้สะอาดถ้าใช้แอลกฮอล์ได้ยิ่งดีครับ  จะได้ฆ่าเชื้อโรคไปด้วย
ส่วนบริเวณอื่นๆ  นั้นให้ใช้สำลีชุบแอลกฮอล์มาเช็ดทำความสะอาด  แต่ในกรณีที่วัสดุของเมาส์ที่เป็นหนัง  ก็ใช้ผ้าซุบหมาดๆเช็ดก็พอ  และบริเวณตรงบริเวณที่ส่องแสงเพื่อใช้จับตำแหน่งเมาส์นั้นให้ใช้สำลีก้าน แห้งๆ  ไม่ควรที่จะซุบน้ำ  แอลกอออล์ หรือสารเคมีใดๆ  ทั้งสิ้น  ค่อยเซ็ดอย่างระมัดระวัง  แล้วควรที่จะล้างมือให้สะอาดก่อนที่จะไปจับมันด้วยนะครับ

การเลือกแผ่นลองเมาส์ก็มีส่วนสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพด้วย  โดยเฉพาะคนที่ใช้แบบลูกกลิ้ง  ควรเลือกแผ่นรองที่ผลิตจากพลาสติกสังเคราะห์  จะช่วยให้การทำงานนั้นราบรื่น  แต่ถ้าใช้แบบเลเซอร์หรือออฟติคอลนั้น  ควรใช้แผ่นรองเมาส์ที่ไม่มีลวดลายและควรมีผิวที่เรียบ  เพื่อประสิทธิภาพในการสะท้อนและการหักเหของแสงด้วย


การดูแลรักษาจอภาพ

1.จอภาพ
การดูแลรักษาคอมพิวเตอร์ (จอภาพ)

เนื่อง จากจอภาพเป็นอุปกรณ์แสดงผลที่ส่งผลกระทบต่อดวงตาของผู้ใช้โดยตรง   ดังนั้นผู้ใช้จึงควรปรับแสงและความละเอียดในการแสดงผลให้พอดีกับสายตาของผู้ ใช้ ทำความสะอาดจอภาพด้วยผ้าสะอาด ไม่ใช้มือสัมผัสกับหน้าจอแสดงผล และปิดจอภาพหลังปิดคอมพิวเตอร์ทุกครั้ง
การดูแลรักษาจอภาพ  (Monitor)

จอ ภาพ (Monitor) จอภาพโดยทั่วไปมักจะมีอายุการใช้งานประมาณส่วนใหญ่ ประมาณ 1-3 ปี เนื่องจากหลอดภาพของแต่ละรุ่นยี่ห้อนั้น จะมีคุณภาพแตกต่างกันไปตาม แต่ละบริษัทผู้ผลิต ไม่ควรตั้งจอไว้ใกล้บริเวณที่มีสนามแม่เหล็กมากจนเกินไป และไม่ควรเช็ดหน้าจอด้วยน้ำยาหรือสารอย่างอื่น ๆ ที่ไม่ได้ระบุไว้สำหรับทำความสะอาดจอภาพนั้น ๆ





ขั้นตอนในการทำความสะอาด







        จอภาพรุ่นเก่า  ทำงานแบบเดียวกับจอทีวีทั่วไป จอประเภทนี้จะปล่อยไฟฟ้าสถิตย์ออกมาดักฝุ่นที่อยู่รอบๆ ได้ คุณควรใช้ผ้าแห้งที่สะอาดปัดฝุ่นออก ส่วนรอยเปื้อนที่ปรากฏอยู่บนหน้าจอให้ใช้น้ำยาทำความสะอาดพื้นผิวทั่วไปได้
 การดูแลรักษาควรปฏิบัติดังนี้

อย่าให้วัตถุหรือน้ำไปกระทบหน้าจอคอมพิวเตอร์
ควรเปิดไฟที่จอก่อนที่สวิตซ์ไฟที่ CPU เพื่อ boot เครื่อง
ไม่ควรปิด ๆ เปิด ๆ เครื่องติด ๆ กัน เมื่อปิดเครื่องแล้วทิ้งระยะไว้เล็กน้อยก่อนเปิดใหม่
ควรปรับความสว่างของจอภาพให้เหมาะสมกับสภาพของห้องทำงาน เพราะถ้าสว่างมากเกินไปย่อมทำให้จอภาพอายุสั้นลง
อย่าเปิดฝาหลัง Monitor ซ่อมเอง เพราะจะเป็นอันตรายจากกระแสไฟฟ้าแรงสูง
เมื่อมีการเปิดจอภาพทิ้งไว้นาน ๆ ควรจะมีการเรียกโปรแกรมถนอมจอภาพ (Screen Sever) ขึ้นมาทำงานเพื่อยืดอายุการใช้งานของจอภาพอ

        จอภาพแบบแบนราบ มักมีเยื่อ บางๆ ปกคลุมจออยู่ และผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดชนิดต่างๆ อาจก่อให้เกิดความเสียหายจนจอไม่อาจทำให้มีสภาพเหมือนเดิมได้ การขัดถูแรงๆ อาจทำให้พลาสติกที่เคลือบอยู่หลุดออกมา ดังนั้นคุณควรใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำหมาดๆ เช็ดจอเบาๆ ก็เพียงพอแล้ว

การดูแลรักษาคีย์บอร์ด

วิธีการดูแลรักษาคีย์บอร์ด

คีย์บอร์ดนั้นก็เป็นแหล่งเพราะเชื้อโรคไม่แพ้เมาส์เช่นกัน  เพราะว่าเราจับอะไรแล้วไม่ล้างมือก็มาพิมพ์มันล่ะก็เลยหรือเรารับประทานขนม  ก็ตกลงไปในร่องคีย์ทำให้หมดขึ้นไปอีก  มดก็ขึ้นทำให้เป็นแหล่งสะสมต่างๆ 
วิธีทำความสะอาดก็สามารถที่จะทำได้โดยนำคีย์บอร์ดนั้นคว่ำลง  แล้วเคาะด้านหลังเพื่อที่จะให้เศษฝุ่นนั้นออกมา  ถ้าจะให้ดีสมควรที่จะหาเครื่องเป่าลมนั่นมาเป่าออก  หรืออาจจะเป็นสเปรย์ลมที่เป็นกระป๋อง  แล้วก็ฉีดตามซอกตามคีย์บอร์ดแล้วควรเลือกสเปรย์กระป๋องที่สามารถใช้ได้กลับ ทองแดงได้
ถ้าเกิดว่าไม่สามารถที่จะนำเศษออกมาหมดได้  ก็สามารถที่จะแกะปุ่มทีละปุ่มแล้วก็นำมาทำความสะอาดด้วยการนำสำลีชุบแอลกอฮอล์มาเช็ดของแต่ละปุ่ม  แต่ก็ต้องวางตำแหน่งให้ถูกด้วยนะครับ  เวลาใส่กลับคืนจะได้พิมพ์ถูก  ส่วนคนที่ใช้โน้ตบุ๊กนั้นก็เกะมาไม่ได้ก็ค่อยๆ  ที่จะเช็ดตามซอกอย่าระมัดระวัง  ไม่ควรที่จะชุบน้ำมาเช็ดหรือถ้าใครที่จะหลีกเลี่ยงจากสิ่งสกปรกต่างก็สามารถ ที่จะหาซิลิโคนมาใส่เอาไปได้ครับ  ไม่เช่นนั้นแล้วเราอาจตั้งเปลี่ยนคีย์บอร์ดใหม่ต้องเสียตังค์ไป
รูปภาพประกอบ..
1.การใช้ที่เป่าลมเป่าเศษผงหรือเศษฝุ่นภายในคียบอร์ด
2.การใช้ Cotton Brush หรือ แปรงปัดฝุ่น เช็ดบริเวณร่องของแป้นตัวอักษรบนคียบอร์ด

3.การใช้สเปรย์ลมฉีดตามร่องของแป้นตัวอักษรบนคียบอร์ด

การดูแลฮาร์ดดิสก์



วิธีดูแลฮาร์ดดิสก์อย่างง่าย

วิธีการดูแลรักษาฮาร์ดดิสก์อย่างง่าย

        โดยปกติพื้นในฮาร์ดดิสก์ ของเราถูกใช้ในการจัดเก็บไฟล์ไว้หลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นไฟล์โปรแกรมระบบปฏิบัติการ ( Windows) ไฟล์โปรแกรมทำงาน (เช่น โปรแกรม MS-Word MS-Exel) ไฟล์เกมส์ ไฟล์งาน (เช่น รูปภาพ ไฟล์เอกสาร Word หรือ Exel) ไฟล์เพลง mp3 ฯลฯ ซึ่งไฟล์เหล่านี้ถูกจัดเก็บอย่างเป็นระบบในฮาร์ดดิสของเรา ยิ่งเราติดตั้งโปรแกรมลงไปในคอมพิวเตอร์มากเท่าไร เราก็จะยิ่งเสียพื้นในฮาร์ดดิสก์ไปเรื่อยๆ อันนี้ยังไม่นับไฟล์งาน ไฟล์รูปภาพและไฟล์เพลง ต่างๆ ที่ได้บอกไปแล้ว ซึ่งสามารถตรวจสอบขนาดพื้นที่ของฮาร์ดดิสในเครื่องของเราได้ด้วยวิธีการ ดังนี้
        1. ดับเบิ้ลคลิกที่ My Computer

        2. คลิกเมาส์ขวาที่ไดรฟ์ C: หรือ D: ( เป็นไดรฟ์ของฮาร์ดดิสที่ใช้เก็บข้อมูล ) แล้วคลิก( ซ้าย ) ที่เมนู Propreties
3. สีน้ำเงินคือพื้นที่ที่ถูกใช้ไป ส่วนสีชมพูคือพื้นที่ที่ว่างอยู่ หลักการมีอยู่ว่า จำเป็นต้องเหลือพื้นที่สีชมพูไว้อย่างน้อย 10 % ของฮาร์ดดิสก์ ไม่งั้นเครื่องจะทำงานช้าลง ซึ่งก็คงหนีไม่พ้นที่จะต้องลบไฟล์หรือ โปรแกรมออกจากเครื่องไปบ้าง แต่ก่อนที่จะลบข้อมูลดังกล่าว ขอแนะนำให้ลบไฟล์ขยะ (Temp files) อกไปก่อน และวิธีการดูแลฮาร์ดดิสก์ ขั้นต้น แนะนำตามวิธีดังต่อไปนี้


1. การสแกนไวรัส
    - สแกนไวรัส ทุกครั้งก่อนเปิดใช้งาน Flash Drive
    - สแกน Drive ทุกๆ Drive อย่างน้อยอาทิตย์ละ1 ครั้ง
    - ในการเสียบ Flash Drive ทุกครั้ง ห้าม Double Click โดยเด็ดขาด   เมื่อสแกนไวรัสแล้ว ให้คลิกขวาเลือก Open หรือ Explore

2. การลบไฟล์ขยะ (Temp files)
    Temp files เรียกได้ว่าเป็นไฟล์ ขยะที่เกิดจากการเปิดใช้งานมาก ไม่มีประโยชน์ใดๆทุกครั้งที่เปิดวินสโดวส์จะมีการสร้าง Temp files นามสกุล .tmp ขึ้นมาเรื่อยๆซึ่งวินโดวส์ก็ไม่ได้ใช้งานไฟล์ประเภทนี้อีก โดยปกติเมื่อเราใช้ windows ไปนานๆไฟล์ขยะต่างๆ หรือไฟล์ที่ระบบปฏิบัติการโหลดไว้เพื่อใช้งานชั่วคราว ก็จะมากขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นควรจะมีการเคลียร์ Temp files เพื่อลดปริมาณขยะ ออกจากเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ค่ะ ว่าแล้วก็มาลบไฟล์ขยะกันเลยดีกว่า เราเรียกวิธีการลบไฟล์ขยะนี้ว่า “Disk Cleanupบางทีการทำ Disk Cleanup อาจทำให้เราได้พื้นที่ว่างของฮาร์ดดิสคืนกลับมา โดยที่ไม่ต้องไปลบโปรแกรมหรือไฟล์งานเลยก็ได้ ขั้นตอนการทำ Disk Cleanup มีดังนี้

1. คลิกที่เมนู Start แล้วไปที่เมนู Program / Accessories / System Tools / คลิกที่เมนู Disk Cleanup
2. คลิกเลือกไดรฟ์ C: จากนั้นคลิกปุ่ม OK
3. ถึงตรงนี้ให้รอสักครู่ค่ะ ( ใครที่ไม่ได้ทำ Disk Cleanup มาก่อน อาจต้องรอนานหน่อยนะ )
4. ทีนี้ก็มาถึงขั้นตอนการลบให้คลิกปุ่ม OK
5. คลิกปุ่ม Yes เพื่อยืนยัน
6. แสดงสถานะการลบไฟล์ขยะให้รอสักครู่จนกว่าหน้าต่างนี้จะหายไป

       หลังจากเสร็จสิ้นทั้ง 6 ขั้นตอนนี้แล้ว ให้ลองกลับไปตรวจสอบขนาดพื้นที่ของฮาร์ดดิสดูอีกครั้งตามที่ได้แนะนำไว้ เมื่อตอนต้นของบทความ เชื่อว่าน่าจะได้พื้นที่ว่างกลับมาอีกพอสมควรพื้นที่ว่างที่ได้กลับมาอาจทำ ให้บางคนไม่ต้องไปลบโปรแกรมหรือไฟล์งานในเครื่อง โดยเฉพาะกับผู้ใช้คอมพิวเตอร์บางท่านที่ไม่เคยทำ Disk Cleanup มาก่อน ก็จะได้พื้นที่ว่างกลับมาเยอะจนเราคาดไม่ถึงทีเดียว

*** หรือจะทำตามคำแนะนำการจัดการกับไฟล์ขยะ ในเมนู ไฟล์ขยะในเครื่องคอมพิวเตอร ที่ได้กล่าวข้างต้นแล้วก็ได้ค่ะ

3. การใช้งาน Scan Disk   สำหรับตรวจสอบข้อผิดพลาดของ ฮาร์ดดิสก์ สำหรับ Windows XP
1. ดับเบิ้ลคลิกที่ My Computer คลิกขวาไดร์ฟที่ต้องการทำ Scan Disk เลือก Properties
2. คลิกที่แท็บ Tools จากนั้นคลิกที่ Check Now…
3. คลิกเครื่องหมายถูกที่ Scan for and attempt recovery of bad sectors แล้วคลิก Start
4. รอสักครู่เครื่องจะทำการ Scan Disk
5. เมื่อเครื่องทำการ Scan Disk เสร็จก็จะรายงานได้ทราบ ให้คลิก OKหมายเหตุ

หมายเหตุ   ขณะที่ทำการ Scan Disk ไม่ควรเปิดโปรแกรมใด ๆ
           Automatically fix errors เป็นการกำหนดให้ทำการแก้ไขปัญหาที่พบโดยอัตโนมัติ เมื่อพบข้อผิดพลาดขึ้น
4. การ Defrag ฮาร์ดดิสก์   เพื่อเพิ่มความเร็วให้กับการทำงานของระบบ สำหรับ Windows XP
1.
ดับเบิ้ลคลิกที่ My Computer คลิกขวาไดร์ฟที่ต้องการทำ Defragment เลือก Properties
2.
คลิกที่แท็บ Tools จากนั้นคลิกที่ Defragment Now...
3.
คลิกที่ Defragment
4.
จากนั้นให้รอ เครื่องจะทำการ Defragment ซึ่งอาจจะใช้เวลานาน

การดูแลรักษาคอมพิวเตอร์


   คอมพิวเตอร์ที่เราใช้งานกันอยู่ทุกวันๆบางทีเราอาจเคยสงสัยว่า แต่ละส่วน หรือองค์ประกอบหลักของคอมพิวเตอร์มีอะไรบ้าง จะขอแนะนำกันเล็กๆน้อยๆนะครับ สำหรับคอมพิวเตอร์เองจะแบ่งเป็น 2 ส่วนหลักๆ คือฮาร์ดแวร์ (Hardware) และ ซอฟต์แวร์ (Software)

ฮาร์ดแวร์ คอมพิวเตอร์
ฮาร์ดแวร์ คอมพิวเตอร์

ฮาร์ดแวร์ (Hardware)

สำหรับฮาร์ดแวร์คือ ส่วนที่เราสามารถจับต้องได้ทุกชิ้นครับไม่ว่าจะเป็น จอ, เคส, เมาส์, คีย์บอร์ด, หูฟัง, ซีพียู, เมนบอร์ด, อะไรที่สัมผัสได้เราก็เรียกว่าฮาร์ดแวร์ในส่วนของคอมพิวเตอร์ครับผม

ซอฟต์แวร์ คอมพิวเตอร์ (Software computer))
ซอฟต์แวร์ คอมพิวเตอร์ (Software computer))

ซอฟต์แวร์ (Software)
สำหรับซอฟต์แวร์คือ ส่วนที่เราใช้งานและควบคุมโดยการสังการจากฮาร์ดแวร์ครับ นั่นคือระบบปฏิบัติการ หรือที่เรารู้จักกันเช่น วินโดวส์(Windows) รวมถึงโปรแกรม แอพพลิเคชั่นต่างๆที่เราเห็นกันอยู่ทุกวัน ไม่ว่าจะเป็น Microsoft Office, Winamp, MSN เป็นต้น
ที่เราต้องรู้จักกับสองอย่างทั้ง ฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์กันก่อนก็เพราะว่ามันมีความสัมพันธ์กันครับหากเราดูแลแค่อย่างใดอย่างนึงก็ไม่ดีครับ
เพราะสองอย่างนี้จะทำงานกันได้ต้องมาเป็นคู่ครับ ถ้าเรามีคอมพิวเตอร์แต่ไม่มีโปรแกรมก็เล่นไม่ได้ ว่ากันง่ายๆเลย ^^
วิธีดูแลรักษาคอมพิวเตอร์
วิธีดูแลรักษาคอมพิวเตอร์

มาว่ากันด้วยวิธีการดูแลรักษาคอมพิวเตอร์ง่ายๆ 10 วิธีดังนี้


วิธีดูแลรักษาคอมพิวเตอร์ เช็ดทำความสะอาด
วิธีดูแลรักษาคอมพิวเตอร์ เช็ดทำความสะอาด
1.ทำความสะอาดคอมพิวเตอร์บ้าง : วิธีการทำความสะอาดคอมพิวเตอร์นั้นไม่ยากอย่างที่เราคิดครับ แต่ก็ต้องทำให้ถูกหลักด้วยนะครับ เริ่มจากการถอดปลั๊กไฟก่อน และทำความสะอาดโดยใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำเปล่า หรือน้ำยาทำความสะอาดคอมพิวเตอร์ เช็ดส่วนต่างๆที่เป็นตัวเครื่องหรือกรอบหน้าจอ เมาส์ คีย์บอร์ด รวมถึงสายไฟคอมพิวเตอร์
2.เป่าฝุ่นหรือกำจัดฝุ่นที่อยู่บนตัวเครื่อง : สำหรับวิธีนี้แนะนำให้ใช้แปลงทาสีที่มีขนอ่อนๆ อาจจะเป็นแปรงด้ามไม้ไผ่หาซื้อได้ตามร้านวัสดุก่อสร้างครับ เพราะหน้าจอหรือตัวเครื่องบางรุ่น หากใช้แปรงที่มีขนหนาอาจทำให้เป็นรอยได้ อย่าลืมใส่ผ้าปิดจมูกก่อนทำความสะอาดนะครับถ้าใครมีเครื่องเป่าฝุ่นหรือเป่าลม สามารถเป่าเครื่องได้นะครับเพื่อไล่ฝุ่นออกจากคอมพิวเตอร์
3.ตรวจเช็คความเรียบร้อยภายในตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ : วิธีนี้อาจยุ่งยากหน่อยสำหรับผู้ที่ไม่ถนัดในด้านการช่างครับ เพราะต้องทำการเปิดฝาเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยจะต้องไขน็อตที่ล็อกฝาข้างอยู่ ควรตรวจเช็คพัดลมระบายความร้อนและสายไฟที่อยู่ภายในครับว่ายังอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ดีอยู่หรือเปล่าเพราะความร้อนก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้คอมพิวเตอร์เสียได้เพราะอุปกรณ์สึกหรอ
วิธีดูแลรักษาคอมพิวเตอร์ พัดลมระบายความร้อน
วิธีดูแลรักษาคอมพิวเตอร์ พัดลมระบายความร้อน
4.จัดวางคอมพิวเตอร์ให้ถูกหลัก : สำหรับผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ การจัดวางหน้าจอคอมพิวเตอร์ควรวางให้ห่างจากกำแพง หรือมีช่องว่างด้านหลังจอประมาณ 1 ไม้บรรทัด ครับเพราะความร้อนที่กระจายออกมาจะได้มีการระบายที่โล่งและไม่เกิดอุณหภูมิสูง รวมถึงตัวเคสคอมพิวเตอร์ก็ควรตั้งในที่มีช่องระบายความร้อนให้ลมสามารถพัดเข้า-ออกได้  ผู้ที่ใช้โน้ตบุ้คก็เช่นเดียวกันครับ ควรยกระดับด้านล่างของโน้ตบุ้คให้มีช่องว่างระบายอากาศด้านล่างด้วย เนื่องจากโน้ตบุ้คจะมีความร้อนที่สูงกว่าคอมพิวเตอร์ทั่วไป แนะนำให้หาพัดลมตัวเล็กๆ หรือพัดลมตั้งพื้นเป่าจะแน่นอนสุดครับ เย็นทั้งคนและเครื่อง
5.เข้าศูนย์หรือร้านซ่อมคอมใกล้บ้าน : วิธีนี้สำหรับคนที่ไม่สะดวกในการจัดการคอมพิวเตอร์ก็ต้องฝากให้เป็นงานของช่างคอมพิวเตอร์ช่วยตรวจสอบกันว่าอุปกรณ์ต่างๆยังอยู่ในสภาพดีไหม ก่อนตรวจเช็คสอบถามราคาในการดำเนินการก่อนนะครับ ^^
วิธีดูแลรักษาคอมพิวเตอร์
วิธีดูแลรักษาคอมพิวเตอร์
6.จัดการไฟล์ที่ไม่ได้ใช้แล้วหรือไม่สำคัญ : ไฟล์ต่างๆที่เราดาวน์โหลดมาหรือเก็บไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์หากไม่ได้ใช้งานแล้ว หรือไม่สำคัญก็ควรลบทิ้งจากเครื่องคอมพิวเตอร์ครับ เพราะจะทำให้ไม่หนักเครื่องในส่วนของหน่วยความจำ จะได้พร้อมและมีทีว่างรับข้อมูลใหม่
7.จัดระเบียบโฟลเดอร์ต่างๆ : ในส่วนนี้จะช่วยประหยัดทั้งเวลาและช่วยในเรื่องการทำงานของเราได้เลยครับเพราะหากเราจัดการไฟล์และโฟลเดอร์ต่างๆให้เป็นระเบียบเรียบร้อย เวลาที่หาไฟล์ต่างๆก็จะสะดวกมากขึ้น เครื่องก็จะทำงานไม่หนักครับ
8.กำจัดและสแกนไวรัสในคอมพิวเตอร์ : วิธีนี้อาจต้องใช้เวลาหน่อยครับเพราะแน่นอนว่าสำหรับคนที่ใช้คอมพิวเตอร์มานานข้อมูลต่างๆรูปภาพไฟล์เพลง งานต่างๆมากมายที่อยู่ในเครื่องมาจากหลากหลายที่ ทำให้มีไวรัสแฝงตัวอยู่ในโฟลเดอร์ต่างทั้งที่เราไม่รู้บ้าง ยิ่งข้อมูลมากยิ่งใช้เวลาสแกนนานมากขึ้น ลองหาโปรแกรมสแกนไวรัสสักตัวอย่างเช่น nod32 เพื่อให้การใช้งานคอมพิวเตอร์ไม่มีปัญหาครับ
วิธีดูแลรักษาคอมพิวเตอร์ เช็คไวรัสคอมพิวเตอร์
วิธีดูแลรักษาคอมพิวเตอร์ เช็คไวรัสคอมพิวเตอร์

9.ลบโปรแกรมที่ไม่ได้ใช้งานทิ้ง : หากเรารู้ว่าโปรแกรมไหนที่เราไม่ได้ใช้งานแล้ว หรือเกมส์ต่างๆที่เราลงไว้ในคอมพิวเตอร์ไม่ได้เล่นเราควรจะลบออกครับเช่นเดียวกับโฟลเดอร์และไฟล์ เพราะจะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ของเราไม่ทำงานหนักที่ต้องเตรียมโปรแกรมต่างๆคอยเสิร์ฟเวลาที่เราจะใช้งาน
10.หมั่นหาวิธีหรือการใช้งานที่ถูกต้อง : จริงๆแล้ววิธีนี้ก็คือการใช้งานคอมพิวเตอร์ให้ถูกต้องตามพื้นฐานครับ เพราะถ้าเราไม่รู้หลักในการใช้งานแล้ว ตั้งแต่ข้อ 9 จนถึง 1 ที่กล่าวมาก็อาจทำให้เราละเลยในการดูแลรักษาคอมพิวเตอร์จากการใช้งานที่ไม่ถูกต้องได้ ไม่ยากครับเพียงแค่เราคอยเอาใจใส่ทั้งตัวเราและคอมพิวเตอร์ ต้องเริ่มจากตัวเราก่อนครับเพราะถ้าเราไม่ดูแลสุขภาพตัวเราก่อน เวลาที่เราจะดูแลคอมพิวเตอร์ก็จะมีน้อยลงครับ

อย่าลืมนะครับวิธีการดูแลคอมพิวเตอร์ไม่ยากอย่างที่เราคิดจริงๆ มีมากมายหลายวิธีแต่ที่เรียบเรียงให้นี้ เป็นวิธีหลักๆในการดูแลคอมพิวเตอร์ครับ